21 ธันวาคม 2012

โลกยัีงคงปลอดภัยดี ไปอีกคราหนึ่ง เริ่มนับปฏิทินมายันรอบที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เมื่อป่าต้นน้ำถูกทำลาย

เห็นกันชัดๆ ป่าต้นน้ำ หายไปครึ่งเขา ใครมีอำนาจรับผิดชอบ ช่วยทีเถอะครับ เดี๋ยวฝนมาก็ท่วมอีก งบแก้ปัญหาช่วยได้ชั่วคราว แต่หลังน้ำลด ค่าซ่อมบ้านซ่อมถนนซ่อมระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์รู้ๆ กันนะ

ต้นเหตุน้ำท่วมเมืองหลายแห่งของไทยเพราะการปลูกข้าวโพด

นอกจากปัญหาโลกร้อน จนการปรากฏการณ์ลานิญญ่า น้ำฝนมากกว่าปกติจนเกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก

ใครจะไปเชื่อ? ว่าเหตุที่น้ำท่วมหลายจังหวัดในช่วงนี้ มาจากการปลูกข้าวโพดของชาวไร่ในแต่ละจังหวัด

แล้วมันมาเกี่ยวได้ยังไง?

ถ้าปลูกข้าโพดบนพื้นราบก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ที่มีก็เพราะไปปลูกบนภูเขา ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็น แม่สรวย-ดอยวาวี เชียงราย เป็นเหตุให้ถนนขาด

เมืองโคราช ก็เพราะชาวบ้านแห่กันปลูกข้าวโพด โดยใช้พื้นที่ภูเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่า

แม้แต่จังหวัดเลยที่ว่าสูงก็โดนเหมือนกัน เพราะป่าบนภูเขาหายไปทั้งลูก

ข้าวโพดกลายเป็นพืชเศรษฐกิจโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2007 กลุ่มพืชฯ เครือบริษัทแห่งหนึ่ง ขยายฐานการผลิตข้าวโพดอาหารสัตว์สู่ประเทศเพื่อนบ้านพร้อมป้อนสู่โรงงานอาหารสัตว์

สำหรับราคาที่รับซื้อข้าวโพด อาหารสัตว์ในประเทศไทย ณ วันนี้ราคาตลาดสูงถึง 7.88 บาท/กิโลกรัม
(ข้อมูลเมื่อปี 2007) ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก อย่างไรก็ตามโอกาสในการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้าน นั้นจะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายในประเทศที่ได้ทำการส่งเสริมอีกครั้ง

ชาวบ้านเลยแห่กันปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศ

ข้าวโพดที่คนกินไม่ได้ แต่เป็นอาหารสัตว์ในต่างประเทศ

ความรุนแรงของน้ำท่วมจนต้นไม้ใหญ่โค่นล้มป่าต้นน้ำบนภูเขา กลายเป็นไร่ข้าวโพด

เนื้อไม่ได้กิน (เพราะเป็นอหารสัตว์)
หนังไม่ได้รองนั่ง
กระดูกแขวนคอ (น้ำท่วมจนลอยคอ)

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

น้ำตกนางแลในถล่ม ที่เชียงราย

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตค. ผมไปบรรยายเรื่องโลกร้อนที่เชียงราย หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม รองเบิ้มซึ่งเป็นรองนายกที่นั่นเลาถึงภัยพิบัติทางน้ำที่เกิดจากน้ำป่าไหลลงมาจากภูเขาโดยผ่านน้ำตกนางแลใน จากลำธารเล็กๆ กลายเป็นทางน้ำกว้างๆ และสายน้ำก็เปลี่ยนทิศทางอีกด้วย

บ้านหลังนี้รอดพ้นอย่างเหลือเชื่อ
ทางด้านหน้าและหลังกลายเป็นทางน้ำไหล

ตรงนี้เคยเป็นบ้านพักของมิชชั่นนารี ตอนนี้เหลือแต่พื้น
และดินด้านข้างที่ถูกกัดเซาะแบบเฉียบพลัน

ภาพมุมไกลออกมาจะเห็นแผ่นปูนที่ยื่นออกมา

ทีมงานของเบสท์แคร์กับรองเบิ้มร่วมถ่ายภาพ
รณรงค์ลดโลกร้อน 350 ppm

กิจกรรมระดับโลกเพื่อการรณรงค์ลดโลกร้อน 350 ดูรายละเอียดได้ที่ 350.org

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553