21 ธันวาคม 2012

โลกยัีงคงปลอดภัยดี ไปอีกคราหนึ่ง เริ่มนับปฏิทินมายันรอบที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นาซาแจ้งพายุสุริยะทำญี่ปุ่นดินไหว 6.7 ริกเตอร์


ข่าวต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 15:40 น.

"สมิทธ" เผย นาซา แจ้งเกิดระเบิดผิวดวงอาทิตย์เข้าสู่โลก กระทบมหาสมุทร แปซิฟิก อินเดีย คืนนี้อย่างช้า พรุ่งนี้คาดอาจเกิดกระแสลมแปรปรวน ภัยธรรมชาติ ชี้ ไทยไม่รุนแรง พายุสุริยะทำเกาะฮอนชู ญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหว 6.7 ริกเตอร์ เมื่อเช้านี้

นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ได้รับรายงานจากองค์การนาซาของสหรัฐอมเริกา แจ้งว่าได้ปรากฏการณ์อาทิตย์สุริยะ จากการระเบิดของผิวดวงอาทิตย์ขึ้น ซึ่งคาดว่า จะเข้าถึงโลก และกระทบต่อมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดีย ในคืนนี้ หรือ อย่างช้าที่สุด คือ วันพรุ่งนี้ โดยจะส่งผลให้เกิดกระแสลมแปรปรวนและภัยธรรมชาติได้ อาทิ เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม ซึ่งในส่วนของประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ไม่รุนแรง

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลขององค์การนาซา ระบุว่า ปรากฏการณ์พายุสุริยะ จะทำให้โลกเกิดภัยธรรมชาติ อาทิ พายุ และแผ่นดินไหว โดยล่าสุดการเกิดแผ่นดินไหวนอกฝั่งฮอนชู ของประเทศญี่ปุ่น 6.7 ริกเตอร์ เมื่อเช้าวันนี้ ก็มีสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากพายุสุริยะเช่นกัน ซึ่งหลายประเทศควรเตรียมข้อมูลมาศึกษา เพื่อจัดทำแผนเตือนภัยล่วงหน้า

ข้อมูลจาก http://www.innnews.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

16 มิย.พระจันทร์สีเลือด




16 มิ.ย.นี้จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งแรกในรอบ 4 ปี กินเวลาเกิดปรากฏการณ์ทั้งสิ้น 3.39 ชั่วโมง

วันที่ 16 มิ.ย.นี้จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็ม ดวง กินเวลาเกิดปรากฏการณ์ทั้งสิ้น 3.39 ชั่วโมง นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นยาวนานและสามารถเฝ้าชมได้ตลอดทั้งเหตุการณ์หาก ท้องฟ้าเป็นใจ ไม่มีเมฆฝนบดบัง

ปรากฏการณ์ครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนเป็นต้นไป โดย 01.22 น. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดบางส่วน และการเกิดคราสในเวลา 02.22 น. ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าสู่กึ่งกลางเงามืดของโลก ยาวนานกว่า 1.40 ชั่วโมง และสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 04.00 น.โดยประมาณ

ความพิเศษอยู่ที่ดวงจันทร์ปรากฏสีแดงส้มหรือแดงอิฐ จากการหักเหของแสงสีขาว ทำให้สีแดง ส้ม ตกกระทบบนพื้นผิวดวงจันทร์ และจันทรุปราคาครั้งนี้มีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญ ขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า สดร.เตรียมพร้อมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในคืนวันที่ 16 มิ.ย.นี้ ผ่านเว็บไซต์ www.narit.or.th โดยได้รับความร่วมมือจากหอดูดาวภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ หอดูดาวภูมิภาคเชียงใหม่ที่ละติจูด 18 องศา หอดูดาวภูมิภาคฉะเชิงเทราที่ละติจูด 13 องศา และหอดูดาวภูมิภาคสงขลาที่ละติจูด 7 องศา

"เชื่อว่าจะไม่เกิดฝนพร้อมกันทั้ง 3 จุดถ่ายทอด จนทำให้ไม่สามารถสังเกตและบันทึกภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาผ่านกล้องดูดาวครั้งนี้ได้เลย" ดร.ศรัณย์ กล่าว

พร้อมกันนี้ ในคืนวันที่ 16 มิ.ย. ยังจะเห็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์เคลื่อน ที่ไปบังดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า 51 โอฟีอุชชี (Ophiuchi) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวอยู่นอกระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก แต่อยู่ไกลจากโลกถึง 446.35 ปีแสง โดยจะสังเกตเห็นดาวฤกษ์ดวงนี้เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือจันทรคราส เกิดขึ้นจากที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ โคจรมาเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ใช่ว่าจะเห็นได้จากทุกมุมโลก เช่นครั้งนี้ที่เห็นได้ชัดเจนเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลาง ขณะที่อเมริกาอาจต้องรอลุ้นชมจันทรุปราคาอีก ครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.2554 คาดว่าจะเห็นแสงแรกจากกล้องดูดาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติบนดอยอินทนนท์ ซึ่งคนไทยจะได้เฝ้าชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้อีกครั้งหนึ่ง

ข้อมูลจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20110607/394303/news.html