21 ธันวาคม 2012

โลกยัีงคงปลอดภัยดี ไปอีกคราหนึ่ง เริ่มนับปฏิทินมายันรอบที่ 13

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

สถิติการเกิดแผ่นดินไหว

เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่อยากให้รู้กันไว้..


วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

พายุฤดูร้อนในไทย



เกิดลมพายุฤดูร้อนโหมกระหน่ำพื้นที่ อำเภอหนองโดน จ.สระบุรี ต้นงิ้วขนาดใหญ่ที่บริเวณหลังสถานีรถไฟหนองโดน หักโค้นทับร้านค้าพังเสียหายจำนวนหลายห้อง ทั้งนี้ ต้นงิ้วดังกล่าวถูกลงพายุลูกตกหักพาดเสาไฟฟ้า หักโค้นลงมาทับกรีดขวางถนนอีกจำนวนหลายต้น นายณรงค์ ศรีศุภอรรถ ผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี นำพนักงานไฟฟ้า จาก อ.พระพุทธบาท และอ.หนองโดน กว่า 30คน เร่งแก้ไขติดตั้งเสาไฟฟ้า เพื่อให้ชาวบ้านมีกระแสไฟฟ้าใช้เป็นการเร่งด่วนแล้ว ด้าน นายปราโมทย์ โพธิ์กะต้น นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองโดน ใช้นำเลื่อยยนต์ ไปตันทอนต้นไม้ออกไปให้พ้นถนนทางเข้าตลาด อำเภอหนองโดน เพื่อให้ชาวบ้านสัญจรไปมาได้สะดวก

นอกจากนี้ นายปราโมทย์ นายก กล่าวว่า ขณะฝนตกลงมาอย่างหนักพร้อมมีลมกรรโชกแรก มีลมพายุหนุ่นมีลูกเห็ดตกอย่างหนาแน่น บ้านเรือนประชาชนในท้องที่ หมู่ 3 และหมู่ที่ 4 บ้านเรือพังเสียหายกว่า 2หลังคาเรือน จะหาวิธีช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนแล้ว

พายุลูกเห็บพัดบ้านในอ.โพธารามพังกว่า 100 หลัง


นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยนายธวัชชัย วิสะมล นายอำเภอโพธาราม จ.ราชบุรี และเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี รวมทั้งเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ได้เข้าตรวจสอบที่บริเวณหมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 6 และหมู่ 7 ต.หนองกวาง หลังโดนพายุลูกเห็บพัดกระหน่ำทำให้บ้านเรือนราษฎรถูกพัดหลังคาและตัวบ้านพังทั้งหลังกว่า 100 หลังคาเรือน ราษฎรไม่มีที่อยู่อาศัยกว่า 145 ครอบครัว รวมทั้งต้นไม้ใหญ่และพืชผลทางเกษตรหักโค่นเสียหายจำนวนมาก และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากถูกเศษกระเบื้องปลิวมาตกใส่จำนวน 2 ราย ทางญาติช่วยนำส่งโรงพยาบาลโพธารามไปก่อนหน้านี้แล้ว

เบื้องต้นนายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้สั่งการให้ทางอบต.หนองกวางได้ทำการสำรวจความเสียหายและส่งข้อมูลให้กับทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี เพื่อนำงบประมาณมาช่วยเหลือเป็นการด่วน ส่วนในเบื้องต้นนั้นได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยที่อบต.หนองกวาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับราษฎรที่เดือดร้อนด้วย

ด้านนายเสงี่ยม พูลเกษม อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 122 หมู่ 7 ต.หนองกวาง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุลูกเห็บก็กล่าวว่า ช่วงเกิดเหตุนั้นนั่งอยู่ในบ้านเพราะขาเจ็บเดินไม่ค่อยไหว ตอนแรกก็มีฝนตกลงมาก่อนจากนั้นก็มีลูกเห็บตกตามมา ก่อนที่จะมีลูกพายุลูกใหญ่พัดมาและเห็นหลังคาบ้านหายไป จึงได้คลานออกมาแอบด้านนอก รอจนพายุสงบ จึงได้ออกมาดูบ้านก็พบว่าหลังคาบ้านหายไปหมด ภายในบ้านก็ถูกพายุพัดจนข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านเสียหายทั้งหมด และมาทราบอีกทีว่าเพื่อนบ้านหลายคนก็โดนพายุพัดบ้านพังเหมือนกัน ยอมรับว่ากลัวมากเพราะเกิดมาไม่เคยเห็นลมพายุที่พัดรุนแรงขนาดนี้

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

แผ่นดินไหว8.9 ริคเตอร์เกาะสุมาตราเตือนสึนามิ




ด่วน! แผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ เกาะสุมาตรา อินโดฯ  ประกาศเตือน สึนามิ หลายจังหวัดอันดามัน-ตึกสูงกทม.รับรู้แรงสั่นสะเทือน ล่าสุดสั่งอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง

สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหว 8.7 ริคเตอร์นอกชายฝั่งทางตะวันตกของสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเวลา 15.38.30 น.ตามเวลาประเทศไทยในวันนี้

ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่ความลึก 33 กิโลเมตร ละติจูด 2.0430 องศาเหนือ และ 92.5180 ลองติจูดองศาตะวันออก

อินโดนีเซียได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิใน 5 จังหวัดบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ซึ่งรวมถึงจ.อาเจะห์ หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานความเสียหาย รวมถึงผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ก่อนหน้านี้ ทาง USGS รายงานความรุนแรงของเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่ระดับ 8.9 ริคเตอร์ ก่อนที่จะปรับลดลงสู่ระดับ 8.7 ริคเตอร์ในเวลาต่อมา

ศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งแปซิฟิก ในฮาวายกล่าวว่าการเฝ้าระวังคลื่นยักษ์มีผลครอบคลุมตั้งแต่อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา ออสเตรเลีย เมียนมาร์ ไทย มัลดีฟส์และเกาะอื่นๆในมหาสมุทรอินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ปากีสถาน โซมาเลีย โอมาน อิหร่าน บังคลาเทศ เคนยา และแอฟริกาใต้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 แผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ในมหาสมุทรอินเดียแถบแดนอิเหนา ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 230,000 คน

ด้าน นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.54 น. ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดความแรงที่ 8.6 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยากำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

"ถ้าใกล้ระดับ 9 ริกเตอร์ ก็มีโอกาสที่จะเกิดสึนามิ ตอนนี้เรากำลังเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด" รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าว

อย่างไรก็ดี กระทรวงไอซีทีได้ประกาศอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว และมีรายงานว่าหลายจังหวัดในฝั่งอันดามันของไทยได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวดังกล่าวแล้ว เช่น จ.สงขลา, ภูเก็ต, สตูล และชุมพร รวมทั้งบางอาคารสูงในกรุงเทพฯ เช่น อาคารใบหยก อาคารสูงหลายแห่ง เช่น ย่านอโศกมนตรี สีลม สาทร สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ ทำให้พนักงานต่างทยอยลงมาจากตึกเพื่อความปลอดภัย

ขณะที่ นายเลิดสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)เปิดเผยว่า กรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ ใต้ทะเลนอกจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย อาจจะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ได้ โดยจากจุดแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา ประมาณ 15.00น. คาดการณ์ว่าคื่นอาจจะเดินทางมาถึงฝั่งไทยได้โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง  อย่างไรก็ตาม กำลังติดตามขนาดคลื่นและข่าวสารอย่างใกล้ชิด และได้ประสานให้มีการอพยพประชาชนแล้ว

ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยฯ ได้เตือนสึนามิจะเข้าภูเก็ตที่แรก16.40น.คลื่นสูง 3-4 เมตรพังงา 17.00 ความสูง 3-4 ม. กระบี่ 17.58 สูง 1-2 ม.ขณะที่ ทุ่นเตือนภัยมีปฏิกิริยาทั้ง 3 ตัว

ข้อมูลจาก http://www.posttoday.com