21 ธันวาคม 2012

โลกยัีงคงปลอดภัยดี ไปอีกคราหนึ่ง เริ่มนับปฏิทินมายันรอบที่ 13

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนปาล..ทะเลสาบธารน้ำแข็งใกล้แตก



ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกำลังทำให้ทะเลสาบธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย มีความเสี่ยงสูงที่จะแตกทะลัก

อาปา เชอร์ปา นักปีนเขาและมัคคุเทศก์นำเที่ยวภูเขาชาวเนปาล ซึ่งครองสถิติพิชิตยอดเขาเอฟเวอเรสต์มากที่สุดในโลกถึง 21 ครั้ง ออกมาเตือนเมื่อวานนี้ว่า ทะเลสาบธารน้ำแข็งจำนวนมากในเขตเทือกเขาหิมาลัยกำลังใกล้จะแตก โดยเขาเปิดเผยเรื่องนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการเดินทางระยะ 1,700 กิโลเมตรข้ามเนปาลโดยใช้เวลา 120 วัน เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อยอดเขาสูงบนหิมาลัย

อาปากล่าวว่า ทะเลสาบธารน้ำแข็งหลายร้อยแห่งบนเทือกเขาหิมาลัยกำลังมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากการละลายอย่างรวดเร็วของหิมะและน้ำแข็ง จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และเมื่อทะเลสาบล้น พนังก็อาจจะแตก และปล่อยน้ำปริมาณมหาศาลเข้าท่วมหมู่บ้านที่อยู่ต่ำกว่า จึงจำเป็นต้องหาวิธีหยุดยั้งไม่ให้ทะเลสาบเหล่านี้แตก ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

อาปา เริ่มแบกอุปกรณ์และสัมภาระให้กับนักเดินทางและนักปีนเขา ตอนที่อายุได้ 12 ปี เขาเริ่มปีนยอดเขาเอฟเวอเรสต์ครั้งแรกเมื่อปี 2532 และหลังจากนั้นก็ปีนเป็นประจำทุกปี

ข้อมูลจาก http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/52513/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5--%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81.html



ธารน้ำเเข็งบนหิมาลัยละลาย หวั่นเกิดภัยพิบัติ เทือกเขาหิมาลัย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3



          นักปีนเขาเจ้าของสถิติโลก เตือน ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยกำลังละลาย เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ และบางแห่งกำลังจะแตก หวั่นอาจเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่

          เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า อาปา เชอร์ป้า ผู้ครองสถิติพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสกว่า 21 ครั้ง และเป็นมัคคุเทศก์ในการนำนักปีนเขาปีนขึ้นสู่เทือกเเขาหิมาลัย ได้ออกมาบอกว่า เทือกเขาหิมาลัยกำลังเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากหิมะได้ละลายลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดทะเลสาบหลายแห่งในบริเวณนั้น ซึ่งดูเหมือนว่า พนังกั้นของทะเลสาบบางแห่งกำลังจะแตก และน้ำก็ไหลลงไปที่หุบเขาอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากเกิดขึ้นมาก ๆ ก็เป็นไปได้ว่า น้ำจากหิมะละลายจะกวาดเอาหมู่บ้านกว่า 100 บริเวณหุบเขาไปจนเรียบ

          อาปา กล่าวว่า เมื่อครั้งที่เขาปีนขึ้นมาพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสเป็นครั้งแรก บริเวณนี้มีแต่หิมะและน้ำแข็ง ซึ่งนักปีนเขาสามารถใช้เกาะไว้ได้ แต่ในตอนนี้ ทางขึ้นเขาหลายแห่งเป็นเพียงพื้นดินเปล่า ๆ และมีหินโล้นแทรกขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากนักปีนเขามาจะลื่นลงมา อาปาได้เห็นธารน้ำเเข็งที่กำลังละลาย และสิ่งที่เขากังวลอย่างมากในตอนนี้คือ เหตุการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า นอกจากนี้ อาปายังกล่าวว่า ในปี 1985 ธารน้ำเเข็งที่ละลายได้ทำลายบ้านของเขา คร่าชีวิตผู้คนในหมู่บ้านไปกว่า 7 คน สะพานในหมู่บ้านและโรงผลิตไฟฟ้าแห่งใหม่ก็พังลงเช่นกัน

          ทั้งนี้ สิ่งที่อาปากังวลมากที่สุดคือ มีธารน้ำแข็งแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า ธารน้ำแข็งอิมจา กำลังละลายและทำให้เกิดทะเลสาบอิมจา ที่มีขนาดใหญ่กว่า 47 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อ 50 ปีก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีทะเลสาบอิมจามาก่อน

          นอกจากนี้ ฟูนูรู เชอร์ป้า เจ้าของธุรกิจอินเตอร์เน็ตคาเฟ่บนเทือกเขาหิมาลัย ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ แถวนี้จะเป็นน้ำเเข็งทั้งหมด ตัวเขาเองได้เห็นธารน้ำแข็งค่อย ๆ ละลาย และเห็นทะเลสาบค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งนี่เป็นหลักฐานชัดเจนว่า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยกำลังละลายลงอย่างรวดเร็ว โดยสาเหตุน่าจะมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

“ปลอดประสพ” แจงไต้ฝุ่น 27 ลูก กระทบไทยแค่ลูกเดียว


รมว.วิทยาศาสตร์ การันตี กทม.น้ำไม่ท่วม หรือ ท่วมน้อย
แจงไต้ฝุ่น 27 ลูก กระทบไทยแค่ลูกเดียว คาดทยอยเข้าไทยช่วง พ.ค.
หนักสุด ก.ย.- ส.ค. แต่มั่นใจบริหารจัดการน้ำได้

วันนี้ (14 ก.พ.) ที่โรงแรมอัมรินทร์ ลากูน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ชี้แจง ก่อนเข้าร่วมประชุมติดตามแผนงานและโครงการป้องกันน้ำท่วมจังหวัดพื้นที่ต้นน้ำกับนายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่ระบุว่าปีนี้จะมีไต้ฝุ่น 27 ลูก และพายุโซนร้อนอีก 3-4 ลูก ว่า ข้อมูลที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้คิดเอง แต่อ้างอิงจากหลายแหล่งวิชาการ ทั้งจากสถาบันสมุทรศาสตร์ของสหรัฐฯ หรือโนฮาว ซึ่งดูแลมหาสมุทรแปซิฟิก ข้อมูลจากการใช้โมเดล ข้อมูลประวัติย้อนหลังของพายุ 100 ปี และข้อมูลจากอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก และข้อมูลจากความสูงของคลื่นในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งพบว่าจะมีไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกประมาณ 27 ลูก แต่เมื่อมาถึงประเทศไทยจะกลายเป็นพายุโซนร้อนประมาณ 3-4 ลูก ซึ่งในจำนวนนี้จะเข้าผ่ากลางและประชิดประเทศไทยแบบเต็ม ๆ ประมาณลูกเดียว ส่วนอีก 2-3 ลูกจะเฉียดข้าง ๆ แต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อดินฟ้าอากาศในประเทศไทย ทำให้เกิดฝน และพายุ นอกจากนี้ก็จะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านด้วย


“โดยสรุปจะมีผล 1,700 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าคิดเป็นน้ำจะประมาณ 5-6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร  แต่ป่าจะดูดซับเอาไว้ 50 % ก็จะเหลือ 2 หมื่นล้าน ลบ.ม. ซึ่งตามแผนของเราคือให้เขื่อนเก็บไว้ 5 พันล้าน ลบ.ม. ก็จะเหลืออีก 1.5 หมื่นล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้ำก้อนนี้พอไหลผ่าน จ.พิจิตร นครสวรรค์ อยุธยา แก้มลิงก็จะทำงาน เก็บน้ำไว้อีก 5 พันล้าน ลบ.ม. เมื่อพ้นอยุธยามาก็จะเหลือน้ำอีก 1 หมื่นล้าน ลบ.ม.ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะผ่ากลางกทม.ด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา อีก 2 ส่วนจะไปออกทางแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางประกง โดยจะระบายผ่านกทม.วันละประมาณ 300-400 คิวเซ็ก ใช้เวลาเดือนครึ่ง หรือประมาณเดือน พ.ย.น้ำถึงจะหมดไป ประชาชนก็ไม่เดือดร้อน” นายปลอดประสพ กล่าว และว่า เราสมมุติฐานไว้ว่า ปริมาณน้ำจะเท่ากับปีที่แล้ว แต่การบริหารจัดการดีกว่าเดิม โดยควบคุมการระบายน้ำให้เข้า-ออกผ่านทางแก้มลิง  จะไม่มีการกั้นน้ำหรือทำบิ๊กแบกอีก ต้องให้น้ำมาและไปโดยเร็วที่สุด และปีนี้จะมีการกำหนดขั้นตอนการเตือนภัยโดยละเอียด 20 ข้อ ตั้งแต่พายุมา น้ำฝนไหลหลาก น้ำท่วมมาถึงภาคกลาง และการระบายน้ำพ้นกทม. เป็นต้น


“ยืนยันว่ากทม.ไม่ท่วมแน่นอน หัวเด็ดตีนขาด ถ้าท่วมก็จะท่วมน้อยมาก สั้นมาก ตื้นมาก เอาคอเป็นประกันได้” นายปลอดประสพกล่าว และว่า อย่างไรก็ตามแนวทางที่ดีที่สุดคือขณะนี้ กทม.ต้องไปขุดลอกคูคลองให้ดี และขอให้ผู้ว่าฯกทม.มาพูดคุยและร่วมกับประชุมกับพวกเราที่ จ.พระนครศรีอยุธยาตามคำเชิญด้วย เมื่อถามว่าพายุที่ว่าจะมาในช่วงไหน นายปลอดประสพ กล่าวว่า จะทยอยมาประมาณเดือน พ.ค. และหนักสุดก็เดือน  ก.ค.-ส.ค. ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ

ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/politics/12514

"เสรี" ผวาปีนี้เกิดพายุ 31 ลูก






อาชีพเกษตรป่วนภาวะร้อนจัด-แล้งจัด-ฝนหนัก

“เสรี” ชี้ปี 2555 เป็นปีน้ำมาก มีพายุเกิดในภูมิภาค 31 ลูก ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเคลื่อนเข้าไทยหรือไม่ ภาคใต้จ่อโดนฝนถล่มหนักมากกว่าค่าเฉลี่ย 20% เกษตรกรไทยจะพบกับภาวะร้อนจัด แล้งจัด ชงแนวคิดสร้างอ่างขนาดเล็ก–กลางกระจายพื้นที่รับน้ำ ดีกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ “โอฬาร” ชี้เขื่อนไทยถึงขีดจำกัดรองรับน้ำ จี้ กทม.ขุดลอกคลอง อย่าให้จังหวัดอื่นรับน้ำแทน

นายเสรี ศุภราทิตย์ คณะกรรมการยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวในการสัมมนาหัวข้อ “การเกษตรไทยปรับตัวอย่างไรในยุคภัยพิบัติ” จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว จะทำให้เกษตรกรไม่สามารถกำหนดแผนการเพาะปลูกตามฤดูกาลเดิมได้ ซึ่งมีงานวิจัยหลายสำนักบ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่า ประเทศไทยหน้าร้อนจะร้อนจัด แล้งจัด หน้าฝนจะมีฝนตกหนัก ทำให้ยากที่จะบอกว่าน้ำท่วม หรือฝนตกเมื่อใด รัฐจึงต้องกำหนดแผนระยะยาว 10 ปี และ 20 ปีว่า จะมีแผนรับมืออย่างไร โดยเห็นว่าควรกระจายความเสี่ยงในการจัดการบริหารน้ำโดยเลือกสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดกลาง กระจายให้เต็มพื้นที่ดีกว่าเลือกสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำว่าน้ำจะไหลลงเต็มเขื่อน และฝนจะตกลงในเขื่อนหรือไม่

ทั้งนี้ จากบทเรียนน้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมา หลายฝ่ายต้องการความเชื่อมั่นในการจัดการน้ำจากรัฐบาลไทย เช่น หอการค้าญี่ปุ่น ได้มาสอบถามรายละเอียดแผนการบริหารจัดการน้ำของ กยน. เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในญี่ปุ่น รัฐบาลมีการรายงานข้อมูลข้อเท็จจริงของเหตุ– การณ์เป็นรูปเล่ม และขอ โทษประชาชนว่ารัฐบาล ตั้งสมมติฐานความรุนแรงของปัญหาผิด เพราะความรุนแรงมากกว่าที่คาด 3-4 เท่า

ข้อมูลทั้งหมดนี้ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข ตามมาด้วยการปรับแก้ผังเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการเจรจากับประชาชนในพื้นที่ที่ถูกจัดผังเมืองใหม่ ขณะที่ทางราชการไทยก็มีแบบผังเมือง แต่ลงมือปฏิบัติไม่ได้

นายเสรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าในปี 2555 นี้ น้ำจะท่วมกรุงเทพฯหรือไม่ แต่บอกได้ว่าพายุในภูมิภาคนี้จะเกิดมากถึง 31 ลูก แต่ยังตอบไม่ได้ว่าทิศทางของพายุจะเดินทางเข้าสู่ประเทศ ไทยหรือไม่ เพราะประเทศไทยสามารถพยากรณ์ทิศทางล่วงหน้าได้เพียง 7 วัน และพยากรณ์ได้แม่นยำที่สุดในระยะ 3 วัน ส่วนที่สามารถบอกได้ชัดเจน คือ ปี 2555 นี้ เป็นปีที่จะมีฝนมาก โดยเฉพาะในภาคใต้ฝนจะตกมากช่วงเดือน มี.ค.นี้ และค่าเฉลี่ยฝนจะเพิ่มขึ้น 20% จากอิทธิพลของปรากฏการณ์
ลานินญา ส่วนในภาคเหนือและภาคกลาง จะมีน้ำมากเช่นกัน แต่จะได้รับอิทธิพลจากพายุมากกว่าลานินญา

นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ความสามารถในการเก็บน้ำของเขื่อนหลักภาคกลาง 3 เขื่อน คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สร้างเมื่อประมาณ 80 ปีก่อน ไม่สามารถรองรับน้ำได้เพียงพอ เพราะปี 2554 มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 30 ปี ถึง 30% จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อน“วันนี้มีน้ำในเขื่อนใหญ่ 2 เขื่อนมากกว่า 90% แต่ประเด็นคือ เส้นทางการระบายน้ำที่กรุงเทพฯ มีอยู่แล้ว ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และเส้นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) ทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งระบบท่อและอุโมงค์ของกรุงเทพฯ มีศักยภาพพอที่จะนำน้ำไปลงสู่อ่าวไทย ระบบเหล่านี้จะรับน้ำได้หรือไม่ ดังนั้นคูคลองที่ตื้นเขินต้องขุดลอก ขยะต่างๆต้องถูกจัดการในหน้าแล้ง เพื่อเตรียมความพร้อม เรื่องเหล่านี้ กทม.ต้องช่วยตัวเอง จะรอให้จังหวัดอื่นรับน้ำแทนเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้”

นายโอฬาร กล่าวว่า ประเทศไทยควรมีการทดสอบระบบระบายน้ำของลุ่มน้ำภาคกลาง ว่าจะสามารถรองรับน้ำได้มากน้อยเพียงใด และต้องเพิ่มประมาณการเก็บน้ำในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน โดยการทำฝายและแก้มลิงขนาดเล็ก ที่ดำเนินการโดยชุมชน ระดับหมู่บ้านและตำบล และแนวคิดการกักเก็บน้ำ ต้องไม่ใช่เพื่อป้องกันไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯเท่านั้น แต่ต้องสามารถนำน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรในหน้าแล้งได้

“ผมคิดว่านี่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของภาคเหนือและภาคกลางตอนบนของไทย ส่วนในภาคกลางใต้ จ.นครสวรรค์ลงมา มีการทำนาปรังกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้องมีพื้นที่เก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ไว้สนับสนุนในช่วงหน้าแล้ง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากรัฐก็ขอเช่าพื้นที่จากเกษตรกรประมาณ 3-4 เดือนเป็นแก้มลิงขนาดใหญ่ในการกักน้ำไว้ ช่วยชะลอน้ำไม่ให้เข้ามาท่วมในเขตอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลดูแลชดเชยให้ประชาชนที่สมัครใจ”.

ข้อมูลจาก http://m.thairath.co.th/content/eco/231947

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พม่า-แผ่นดินไหว 4.0 ริคเตอร์ เชียงรายรู้สึกได้





เกิดเหตุแผ่นดิวไหวบริเวณชายพม่า-ลาว เมื่อคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทย ด้าน อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย สามารถรับความรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้

เมื่อเวลาประมาณ 22.08 น. (10 ก.พ.) สำนักงานเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการเกิดแผ่นดินไหว บริเวณพรมแดน พม่า-ลาว วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.0 ริคเตอร์ ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจาก อ.แม่สาย จ.จังหวัดเชียงราย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 75 ก.ม. ประชาชนในพื้นที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และ อ.เมืองเชียงราย สามารรับความรู้สึกได้

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จีนหนาว กำลังส่งผลถึงไทย

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือของจีน ต้องประสบกับอากาศที่หนาวเย็นจัดในรอบหลายสิบปี อุณหภูมิติดลบถึง 40 องศาเซลเซียส น้ำในแม่น้ำลำคลองจับตัวกันเป็นก้อนน้ำแข็ง ขณะที่ทางการมีคำเตือนว่า มวลอากาศระลอกใหม่กำลังจะแผ่ปกคลุมในช่วง 2 วันนี้ โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 6-8 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก แต่ในบางพื้นที่ของเขตมองโกเลียใน และทางตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดต่ำลงได้ถึงลบ 14 องศาเซลเซียส ขณะที่ในเขตปกครองตนเองทิเบตมีรายงานว่า ฝูงปศุสัตว์พากันล้มตายไปแล้วกว่า 2,600 ตัว




เขื่อนแตกที่บัลกาเรีย



ฝนและหิมะที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้เขื่อนแห่งหนึ่งในบัลแกเรียแตก มีประชาชนจมน้ำเสียชีวิตแล้ว 8 คน


ฝนและพายุหิมะที่ซัดกระหน่ำพื้นที่ทางใต้ของบัลแกเรีย เล่นงานอ่างเก็บน้ำไอวาโนโว จนเขื่อนแตกเมื่อเช้าวานนี้ ทำให้กำแพงน้ำสูง 2.5 เมตรไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านไบเซอร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บ้านเรือนประชาชน 700 หลังจมอยู่ใต้น้ำ สัตว์เลี้ยงล้มตาย ชาวบ้านหลายคนต้องปีนขึ้นไปอยู่บนหลังคา ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องระดมกำลังเข้าปฏิบัติการครั้งใหญ่เพื่อช่วยเหลือคนเหล่านี้ออกมา 


รัฐบาลบัลแกเรียต้องประกาศภาวะฉุกเฉินพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้ เนื่องจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 4 คน และสูญหาย 10 คน พร้อมกันนั้นก็ประกาศเตือนว่า มีเขื่อนใหญ่กว่านี้อีก 2 แห่งที่เสี่ยงแตกเช่นกัน และขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมอพยพ และเตือนด้วยว่าน้ำอาจจะท่วมทะลักเข้าไปถึงประเทศตุรกี และกรีซ ที่อยู่ติดกัน 


ขณะที่การรถไฟบัลกาเรียต้องระงับการเดินรถในภาคใต้ หลังฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ทำให้เกิดดินถล่มซัดรถไฟขบวนหนึ่งตกราง แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ 












แผ่นดินไหวที่ฟิลิปปินส์ 6.9 ริคเตอร์


วานนี้ (6 ก.พ.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ว่า เกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริคเตอร์ นอกชายฝั่งทางตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 ศพ และยังทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตระหนกโดยเฉพาะในเมืองที่มีบ้านและอาคารเกิดสั่นไหว

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหรัฐแจ้งว่า เกิดแผ่นดินไหววัดได้ 6.8 ริคเตอร์ เมื่อเวลา 11.49 น.ของวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับ 10.49 น.วันเดียวกันตามเวลาในประเทศไทย โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึก 46 กม.และห่างจากเมืองดูมากีเต้บนเกาะเนกรอส  ไปทางเหนือในราว 70 กม.

ขณะที่สถาบันภูเขาไฟและแผ่นดินไหววิทยาของฟิลิปปินส์ แจ้งว่า วัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ 6.9 ริคเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 10 กม. และนอกชายฝั่งของจังหวัดเนกรอสกับเซบู เกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ทางตอนเกลางของประเทศฟิลิปปินส์

นายเบนิโต รามอส หัวหน้าเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ศพ เป็นเด็กถูกกำแพงพังถล่มลงมาทับทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงของอาคารบ้านเรือนในเมืองเซบูที่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 50 กม.เท่านั้น แต่ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องความเสียหายร้ายแรง ขณะที่เจ้าหน้าที่ยังต้องประกาศเตือนประชาชนให้ระวังคลื่นสั่นสะเทือนตามหลังแผ่นดินไหวหรืออาฟเตอร์ช็อก อาจเกิดขึ้นตามมาอีก










แผนที่การขยายตัวของหิมะจากขั้วโลกสู่ยุโรปและเอเซีย

การเปลี่ยนแปลงของโลกกำลังดำเนินไป หากเราเพิกเฉยและดำเนินชีวิตไปวันๆ อาจจะตกเป็นเหยื่อของภัยพิบัติโลกอย่างไม่ทันรู้ตัว

ภาพเปรียบเทียบหิมะของปี 2011 และปี 2012

ยุโรปหิมะตก และจีนหนาวจัด อีกไม่นานก็ถึงไทย

โลกเพี้ยน อากาศเปลี่ยน ยุโรปหนาว หิมะโปรย

ในช่วงเดือน กพ.2012 สถานการณ์โลก โดยเฉพาะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างรุนแรง เริ่มดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่ว่าสม่ำเสมอ

คราวนี้เกิดหิมะตกในรอบ 30 ปี ของดินแดนที่ห่างหายไปจากหิมาะมานาน นั่นคือ อิตาลี และ ฝรั่งเ้ศส และความเยือกหนาวแผ่ลงไปถึงตอนเหนือของแอฟริกาเรียบร้อยแล้ว ดังกับว่าโลกได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างที่นักวิทยาศาสตร์และสารคดีทำกันออกมาเมื่อหลายปีที่แล้ว

และมราน่าเป็นห่วง คือ มีคนเสียชีวิตเพราะอากาศหนาวที่ติดลบถึง 40 องศา